เกาต์ (Gout)

7 มีนาคม 2560
 ประเภท : ข่าวประชาสัมพันธ์
ข้อมูลรูปที่เกี่ยวข้อง
ไม่มีข้อมูล!!

ระบบและอวัยวะที่เกี่ยวข้อง :

ข้อ  ระบบกล้ามเนื้อและกระดูก  ระบบกระดูกและข้อ 

อาการที่เกี่ยวข้อง :

ปวดข้อ  ปวดเท้า 

บทนำ

โรคเกาต์ (Gout) เป็นโรคข้ออักเสบ (การอักเสบ) ที่พบบ่อยโรคหนึ่ง โดยเป็นการอักเสบชนิดไม่ติดเชื้อ เป็นโรคของผู้ใหญ่วัยตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป พบในผู้ชายสูงกว่าในผู้หญิงประมาณ 3-4 เท่า โดยทั่วไปมักเกิดกับข้อเพียงข้อเดียว (แต่บางครั้งอาจเกิดกับหลายข้อได้พร้อมๆกัน) โดยเกิดกับข้อไหนก็ได้ ที่พบบ่อย คือ ข้อเล็กๆ เช่น ข้อกระดูกฝ่าเท้า และข้อกระดูกฝ่ามือ แต่ที่พบบ่อยที่สุด คือ เกิดกับข้อกระดูกฝ่าเท้าด้านหัวแม่โป้ง

โรคเกาต์เกิดได้อย่างไร?

เกาต์

โรคเกาต์มีสาเหตุเกิดจากมี กรดยูริค ในเลือดสูง จนส่งผลให้เกิดการตกผลึกของกรดยูริคในข้อต่างๆ จึงเป็นผลให้ข้ออักเสบ เกิดอาการ บวม แดง ร้อน ปวด และเจ็บ เมื่อสัมผัสถูก ต้อง

โรคเกาต์มีปัจจัยเสี่ยงไหม?

ปัจจัยเสี่ยงของโรคเกาต์ที่พบบ่อย ได้แก่

โรคเกาต์มีอาการอย่างไร?

โรคเกาต์มักเกิดอาการกับข้อเพียงข้อเดียว (แต่สามารถเกิดได้กับหลายๆข้อ) อาการจะค่อยดีขึ้นภายหลังการรักษาประมาณ 1 สัปดาห์ แต่เมื่อควบคุมโรคได้ไม่ดี โรคจะย้อนกลับมาอีก และเป็นๆหายๆ กลายเป็นการอักเสบเรื้อรังของข้อ

โดยอาการพบบ่อยของโรคเกาต์ ได้แก่

แพทย์วินิจฉัยโรคเกาต์ได้อย่างไร?

แพทย์วินิจฉัยโรคเกาต์ได้จาก ประวัติอาการต่างๆ ประวัติการกินอาหาร กินยาบางชนิด(เช่น ยาขับปัสสาวะ) และการเป็นโรคเรื้อรังต่างๆ (เช่น โรคไตภาวะขาดไทรอยด์ฮอร์โมน) ประวัติการเป็นโรคเกาต์ในครอบครัว การตรวจร่างกาย ตรวจเลือดดูค่ากรดยูริค อาจตรวจภาพข้อที่เกิดโรคด้วยเอกซเรย์ แต่ที่แน่นอน คือ ดูดน้ำจากข้อที่บวมตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์ดูผลึกของกรดยูริค

รักษาโรคเกาต์ได้อย่างไร?

แนวทางการรักษาโรคเกาต์ ได้แก่ ให้ยาลดการอักเสบ ให้ยาลดกรดยูริคในเลือด ทั้งนี้การให้ยาต่างๆซึ่งมีหลายชนิด ขึ้นกับดุลพินิจของแพทย์ การจำกัดอาหารมีกรดยูริค (สารพิวรีน) สูง และให้ยาตามอาการ เช่น ยาลดไข้เมื่อมีไข้ร่วมด้วย เป็นต้น

โรคเกาต์มีผลข้างเคียงไหม?

ผลข้างเคียงที่อาจพบได้ในโรคเกาต์ คือ กลายเป็นโรคเกาต์เรื้อรังเมื่อไม่พบแพทย์ต่อ เนื่อง หรือการเกิดปุ่มผลึกกรดยูริคในเนื้อเยื่อต่างๆ ส่งผลให้เสียภาพลักษณ์ หรือเป็นโรคนิ่วในไตจากการสะสมของผลึกกรดยูริคในไต ซึ่งอาจถึงขั้นเป็นสาเหตุไตวายได้

โรคเกาต์รักษาหายไหม?

โรคเกาต์เป็นโรครักษาและควบคุมได้ ไม่เป็นสาเหตุให้เสียชีวิต (ตาย) เมื่อกินยา และปฏิบัติตามแพทย์แนะนำ แต่ถ้าปล่อยเรื้อรังจนเกิดไตวาย อาจเป็นสาเหตุให้เสียชีวิตได้จากไตวาย

ดูแลตนเองอย่างไรเมื่อเป็นโรคเกาต์?

การดูแลตนเองเมื่อเป็นโรคเกาต์ ที่สำคัญ คือ

  • กินยาต่างๆตามแพทย์แนะนำให้ครบถ้วน ถูกต้อง ไม่ควรขาดยา
  • หลีกเลี่ยงและจำกัดอาหารที่มีกรดยูริค (สารพิวรีน) สูง
  • ดื่มน้ำสะอาดให้ได้อย่างน้อยวันละ 6-8 แก้ว เมื่อไม่มีโรคต้องจำกัดน้ำดื่ม เพื่อเพิ่มการขับกรดยูริคออกทางไต และเพื่อลดโอกาสเกิดการตกตะกอนเป็นนิ่วในไต
  • ป้องกันโรคอ้วนและน้ำหนักตัวเกิน ด้วยการควบคุมน้ำหนักโดยควบคุมอาหาร และการออกกำลังกายสม่ำเสมอทุกวันตามควรกับสุขภาพ
  • ป้องกัน ดูแล รักษา ควบคุมโรคที่เป็นปัจจัยเสี่ยงต่างๆที่กล่าวในหัวข้อปัจจัยเสี่ยง
  • หลีกเลี่ยงและจำกัดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • เมื่อมีอาการปวดมาก อาจประคบข้อๆนั้นด้วยน้ำแข็ง และหลีกเลี่ยงการลงน้ำหนักของข้อนั้นๆ
  • หลีกเลี่ยงซื้อยาต่างๆกินเองโดยไม่ปรึกษาแพทย์/เภสัชกร

อนึ่ง อาหารมีสารพิวรีนสูง เช่น เนื้อสัตว์ เครื่องในสัตว์ อาหารทะเล ปลาทะเล หอย แครง น้ำเกรวี (Gravy) และจากพืชบางชนิด เช่น หน่อไม้ฝรั่ง ผักขม ยอดผัก และถั่วชนิดมีรูป ร่างคล้ายไต (ถั่วดำ ถั่วแดง)

ส่วนอาหารมีสารพิวรีนต่ำ เช่น ธัญพืชชนิดเต็มเมล็ด นม (ควรเป็นนมพร่องไขมัน เพื่อลดโอกาสเกิดไขมันในเลือดสูง) ไข่ และปลาน้ำจืด

ป้องกันโรคเกาต์ได้ไหม?

การป้องกันโรคเกาต์ คือ การดูแลตนเองเช่นเดียวกับที่ได้กล่าวแล้วในหัวข้อ การดูแลตน เองเมื่อเป็นโรคเกาต์

เมื่อไรจึงควรพบแพทย์?

เมื่อมีอาการผิดปกติของข้อ ควรพบแพทย์เสมอ เพื่อวินิจฉัยแยกโรค ว่ามีสาเหตุจากโรคอะไร

ส่วนเมื่อเป็นโรคเกาต์ หรือเคยเป็นโรคเกาต์ ควรพบแพทย์ตามนัดเสมอ และรีบพบแพทย์ก่อนนัด เมื่อมีอาการผิดปกติไปจากเดิม หรืออาการต่างๆเลวลง หรือเมื่อมีความกังวลใจในอาการ

 

ข้อมูลไฟล์ที่เกี่ยวข้อง
ไม่มีข้อมูล!!