เกี่ยวกับ อบต.

     ตำบลนาพันสาม ในอดีตนั้นคือตำบลนาขลู่ ในสมัยนั้นนาขลู่ขึ้นอยู่กับตำบลสำมะโรง    เพราะเป็นตำบลที่ไม่ใหญ่นัก ประชากรของตำบลนาขลู่ก็มีน้อย ประกอบกับการมีผู้มีอิทธิพล ขาดความสามัคคีกัน ทางอำเภอจึงให้ไปขึ้นกับตำบลสำมะโรงไปก่อน ครั้นต่อมาคนในตำบลนาขลู่มากขึ้น อำเภอจึงตั้งเป็นตำบล ขึ้นกับอำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี ต่อมาได้ย้ายไปขึ้นกับอำเภอเมือง เนื่องจากการเดินทางไม่สะดวก ไม่มีถนน มีแต่ทางคนเดิน และทางเรือ เท่านั้น 

     การเปลี่ยนมาเป็น ตำบลนาพันสามนั้นด้วยเหตุ 2 ประการ 1. ตำบลนาพันสามนั้น ในอดีตสมัย มีผู้เล่าว่า มีนาอยู่ 3,000 ไร่จึงตั้งตำบลตามนั้น 2. ตำบลนาพันสาม คงจะตั้งตำบลตามความเจริญของหมู่บ้านนั่นเอง เมื่อหมู่บ้านใดมีคนอยู่มากและเป็นหมู่บ้านที่เจริญกว่าหมู่บ้านอื่นในเขตนั้น ก็ยกหมู่บ้านนั้น ขึ้นเป็นตำบล ตั้งอยู่ในเขตการปกครองของอำเภอเมือง

วิสัยทัศน์ (Vision)
"ตำบลนาพันสามเป็นชุมชนน่าอยู่ ควบคู่ทรัพยากรธรรมชาติ การคมนาคมสะดวก สาธารณูปโภคครบครัน มีการบริหารจัดการที่โปร่งใส ชุมชนมีส่วนร่วม ก้าวนำเศรษฐกิจ"

พันธกิจ (Mission)
พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 และที่แก้ไขเพิ่มเติม จนถึงปัจจุบันได้กำหนดอำนาจหน้าที่หลักในมาตรา 66 ให้องค์การบริหารส่วนตำบลมีหน้าที่ พัฒนาตำบลทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม และองค์การบริหารส่วนตำบลนาพันสามได้กำหนดพันธกิจหลักที่จำดำเนินการเพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ที่กำหนดไว้ ดังนี้

พันธกิจที่ 1 พัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐาน ระบบสาธารณูปการ ระบบสาธารณูปโภค ให้มีมาตรฐานและเพียงพอต่อความต้องการของประชาชน
พันธกิจที่ 2 พัฒนาคุณภาพชีวิต และการรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน
พันธกิจที่ 3 ส่งเสริมให้ชุมชนมีอาชีพแบะเศรษฐกิจที่มั่นคง ภายใต้แนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง พัฒนาปรับปรุงภูมิทัศน์แหล่งท่องเที่ยว และส่งเสริมการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้ยั่งยืน
พันธกิจที่ 4 พัฒนาและส่งเสริมการศึกษา ศาสนา ศิลปะวัฒนธรรม ประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น
พันธกิจที่ 5 พัฒนาการบริหารจัดการในองค์กรตามหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี เพิ่มศักยภาพในการทำงานของบุคลากรให้มีประสิทธิภาพ ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน

ชื่อหมู่บ้าน ครัวเรือน ชาย หญิง รวม -
หมู่ที่ 1 บ้านนาขลู่ 111 181 197 378 คน
หมู่ที่ 2 บ้านนาขลู่ 74 145 143 288 คน
หมู่ที่ 3 บ้านฝั่งท่า-นาโตนด 153 237 270 507 คน
หมู่ที่ 4 บ้านนาหัวเรือ-โรงแถว 181 286 336 622 คน
หมู่ที่ 5 บ้านดอนมะขามช้าง 152 259 278 537 คน
หมู่ที่ 6 บ้านนาพันสาม 127 219 246 465 คน
หมู่ที่ 7 บ้านฝั่งท่า-คลองใหญ่ 108 154 202 356 คน
หมู่ที่ 8 บ้านดอนหัวกรวด-นาพรม 120 195 220 415 คน
หมู่ที่ 9 บ้านดอนแตง 79 139 129 268 คน
ข้อมูลรวม : คน

     ตำบลนาพันสามเป็นตำบลหนึ่งในจำนวน 24 ตำบล ของอำเภอเมืองเพชรบุรี

จังหวัดเพชรบุรี  มีที่ตั้งและระยะห่างจากอำเภอเมืองเพชรบุรี ดังนี้

     หมู่  ๑  ห่างจากอำเภอ    ๙   กิโลเมตร   หมู่  ๒  ห่างจากอำเภอ    ๙   กิโลเมตร

     หมู่  ๓  ห่างจากอำเภอ  ๑๕   กิโลเมตร   หมู่  ๔  ห่างจากอำเภอ ๑๒   กิโลเมตร

     หมู่  ๕  ห่างจากอำเภอ  ๑๘   กิโลเมตร   หมู่  ๖  ห่างจากอำเภอ   ๘   กิโลเมตร

     หมู่  ๗  ห่างจากอำเภอ  ๑๒   กิโลเมตร   หมู่  ๘  ห่างจากอำเภอ ๑๐   กิโลเมตร

     หมู่  ๙  ห่างจากอำเภอ  ๑๙   กิโลเมตร

มีอาณาเขตติดต่อดังนี้

     ทิศเหนือ           :    ติดต่อกับตำบลสำมะโรง ตำบลโพพระ อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี

     ทิศใต้              :    ติดต่อกับตำบลหาดเจ้าสำราญ อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี

     ทิศตะวันออก     :    ติดต่อกับตำบลแหลมผักเบี้ย อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี

     ทิศตะวันตก       :    ติดต่อกับตำบลหนองพลับ อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี

เนื้อที่

     ตำบลนาพันสามมีเนื้อที่ประมาณ  25.040  ตารางกิโลเมตร  (หรือประมาณ  15,650  ไร่)
ได้รับการแต่งตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลเมื่อปี  พ.ศ.  2539

ภูมิประเทศ

     สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่ม

https://www.napansam.go.th/assets-admin/images/picture_etc/61656053398854.jpg

แผนที่ตำบลนาพันสาม

 

     องค์การบริหารส่วนตำบลนาพันสาม เป็นองค์การบริหารส่วนตำบลขนาดกลางและได้กำหนดส่วนราชการเพื่อรองรับอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย  โดยมีการแบ่งส่วนราชการและอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบ ของส่วนราชการ  ดังนี้

อาชีพ

     ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม  ทำนา เลี้ยงสัตว์  และประกอบอาชีพทำขนมหวาน ซึ่งตำบลนาพันสาม มีพื้นที่ทั้งสิ้นประมาณ  15,650  ไร่  จำนวน  933  ครัวเรือน

เศรษฐกิจพอเพียงท้องถิ่น(ด้านการเกษตรและแหล่งน้ำ) 

ข้อมูลพื้นฐานของหมู่บ้านหรือชุมชน

      ตำบลนาพันสามมีสภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มเหมาะต่อการเพาะปลูกและทำการเกษตร มีเนื้อที่ประมาณ 25.040 ตารางกิโลเมตร  มีทั้งหมด 9 หมู่บ้าน ประชากรทั้งสิ้น 3,755 คน ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนาเป็นหลักจากสภาพพื้นที่จึงสามารถกำหนดตำแหน่งจุดยืนทางยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านเส้นทางคมนาคมและเส้นทางสำหรับขนส่งผลผลิตทางการเกษตร และพัฒนาแหล่งน้ำ การพัฒนาด้านเกษตรกรรม การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ     

ข้อมูลด้านการเกษตร

     พื้นที่ส่วนใหญ่ของตำบลนาพันสามเป็นพื้นที่ราบลุ่มเหมาะต่อการเกษตรกรรม

ข้อมูลด้านแหล่งน้ำทางเกษตร

     ตำบลนาพันสามมีแหล่งน้ำธรรมชาติ ดังนี้ คลองระบายน้ำดี 18 และคลองระบายน้ำ ดี 23

     แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น ฝาย,ประตูปิด-เปิดน้ำ 4 แห่ง ถังเก็บน้ำ คสล. 5 แห่ง สระน้ำ 2 แห่ง                                 

หน่วยธุรกิจในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล

- ปั๊มน้ำมันและก๊าช  (ขนาดเล็ก)                              1      แห่ง

- โรงสี  (ขนาดเล็ก)                                              1      แห่ง

สินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึก : ขนมหวาน(ฝอยทองทองหยอดฯลฯ)

มวลชนจัดตั้ง

-  กลุ่มเกษตรทำนา                                              650          คน

-  กลุ่มแม่บ้านเกษตรกร                                       150          คน

-  กลุ่มผู้สูงอายุ                                                 400          คน

-  กลุ่มแม่บ้าน                                                   150          คน

การศึกษา

     - โรงเรียนประถมศึกษา/มัธยมศึกษา         2      แห่ง

ตารางแสดงจำนวนโรงเรียนแยกสถานที่ตั้ง

ลำดับที่

ชื่อโรงเรียน

สถานที่ตั้ง

จำนวนครู

จำนวนนักเรียน

1

โรงเรียนวัดนาพรม

หมู่ที่ 8

14

204

2

โรงเรียนบ้านดอนมะขามช้าง

หมู่ที่ 5

10

92

3

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดนาพรม

หมู่ที่ 8

2

40

4

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านดอนมะขามช้าง

หมู่ที่ 5

2

30

รวม

 

 

 

ศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม

     การนับถือศาสนา ประชาชนส่วนใหญ่ของตำบลนาพันสามนับถือศาสนาพุทธ

     ประเพณีและงานประจำปี ขององค์การบริหารส่วนตำบลนาพันสามคือประเพณีลอยกระทงและ

ประเพณีแข่งขันเรือมาด การละเล่นพื้นบ้านวัวเทียมเกวียน

     ภูมิปัญญาท้องถิ่น

     ตำบลนาพันสามมีภูมิปัญญาท้องถิ่นและปราชญ์ชาวบ้านในแต่ละด้านดังนี้

     - ด้านการทำไม้/ทำฝา/ทำบ้านทรงไทย

     - ด้านการปั้นหัวสัตว์

     - ด้านการจักสาน(ทำงอบวัว,ซุ้มไก่,ข้อง,ตระแกรง

     - ด้านการทำไข่เค็ม

     - ด้านการทำน้ำตาลโตนด

     - ด้านการทำยา/หมอกลางบ้าน

     - ด้านการทำพิธีกรรม/ทำขวัญนาค

     - ด้านการทำเรือมาด

การคมนาคม

     การคมนาคมขนส่งของตำบลนาพันสาม สามารถติดต่อระหว่างชุมชนได้สะดวกโดยทางรถยนต์ โดยมีเส้นทางการคมนาคมที่สำคัญได้แก่

     -   ทางหลวงหมายเลข 3177 (หาดเจ้าสำราญ)  สามารถเชื่อมการคมนาคมติดต่อระหว่างอำเภอเมืองเพชรบุรี  อำเภอบ้านแหลม  ได้สะดวก  โดยเริ่มจาก

     -  สี่แยกทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3177  ที่ตำบลหนองพลับ อำเภอเมืองเพชรบุรี  เข้าสู่อำเภอบ้านแหลมโดยผ่านตำบลหาดเจ้าสำราญ อำเภอเมืองเพชรบุรี ตำบลบ้านแหลม อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี เป็นถนนลาดยางสภาพถนนใช้การได้ดี

     -  สี่แยกทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3177  ที่ตำบลหนองพลับ อำเภอเมืองเพชรบุรี  เข้าสู่อำเภอท่ายางโดยผ่านตำบลหนองพลับ ตำบลดอนยาง อำเภอเมืองเพชรบุรี ตำบลหนองจอก ตำบลท่ายาง อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี เป็นถนนลาดยางสภาพถนนใช้การได้ดี

การจราจรและถนนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล

     ปัจจุบันการจราจรในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลนาพันสาม  ไม่มีปัญหาการจราจรติดขัดแต่จะมีปัญหาในเรื่องของรถยนต์เพื่อการเกษตร รถไถเดินตาม รถเกี่ยวข้าว  ซึ่งจะไม่ค่อยมีไฟส่องสว่างทำให้มีอุบัติเหตุเกิดขึ้น ทางสายหลักช่วงผ่านกลางหมู่บ้าน  ทางแยกต่างๆ และด้วยน้ำหนักที่มาก การสัญจรส่งผลให้ถนนได้รับความชำรุด เสียหาย

     สภาพถนนภายในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลนาพันสาม  ถนนส่วนใหญ่ภายในหมู่บ้านเป็นถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก ถนนเข้าพื้นที่การเกษตรส่วนใหญ่จะเป็นถนนลูกรัง

การไฟฟ้า

     - ไฟฟ้ามีใช้ทั้งหมดเต็มพื้นที่ทุกหมู่บ้าน   ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล

แหล่งน้ำธรรมชาติ

     -  บึง  ,  หนองและอื่น ๆ                                   23    แห่ง

แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น

     -  บ่อน้ำตื้น                                                    11    แห่ง

     -  อื่น ๆ  (ถังเก็บน้ำ)                                         24    แห่ง