เจ็บหน้าอกจากหัวใจขาดเลือด กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด อาการปวดเค้นหัวใจ (Angina Pectoris)

14 มีนาคม 2560
 ประเภท : ข่าวประชาสัมพันธ์
ข้อมูลรูปที่เกี่ยวข้อง
ไม่มีข้อมูล!!

ระบบและอวัยวะที่เกี่ยวข้อง :

หัวใจ  ระบบหัวใจและหลอดเลือด 

อาการที่เกี่ยวข้อง :

เจ็บหน้าอก 

บทนำ

เมื่อเกิดปัญหาการนำเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจไม่เพียงพอ จะทำให้เกิดอาการของการขาดเลือดของกล้ามเนื้อหัวใจ ที่แสดงออกเป็นอาการเจ็บหน้าอกหรือปวดหน้าอก ที่เรียกในภาษาไทยได้หลากหลาย เช่น เจ็บหน้าอกจากหัวใจขาดเลือดอาการปวดเค้นหัวใจกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด, หรือหัวใจขาดเลือด ซึ่งทั้งหมดตรงกับภาษาอังกฤษว่า Angina pectoris หรือ Angina

ในปีพ.ศ. 2553 มีการศึกษาที่รายงานสถิติการเกิดภาวะ/โรคนี้ในประชาคมโลก โดยพบเป็นประมาณ 1.6% ของประชากรโลก พบในผู้ชาย (1.7%) สูงกว่าในผู้หญิง (1.5%) เล็กน้อย ส่วนในประเทศไทยในปี พ.ศ. 2553 รายงานจากกระทรวงสาธารณสุขพบอัตราเสียชีวิต (คิดเป็นต่อประชากร 1 แสนคน) ในโรคหัวใจขาดเลือด ในผู้ชาย 24.6 ราย และในผู้หญิง 16.5 ราย

สาเหตุกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเกิดจากอะไร?

เจ็บหน้าอกจากหัวใจขาดเลือด

สาเหตุสำคัญของกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด คือ จากหลอดเลือดหัวใจตีบ เนื่องจากการเสื่อมสภาพจาก ภาวะสูงอายุ, ไขมันในเลือดสูง, ความดันโลหิต/ความดันเลือดสูงโรคเบาหวาน, กรรมพันธุ์ เป็นต้น

อาการเจ็บหน้าอกจากกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเป็นอย่างไร?

อาการเจ็บหน้าอกจากกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ที่พบได้บ่อย คือ ส่วนใหญ่จะมีอาการแน่นหน้าอก/หรือเจ็บแน่น/หรือปวดแน่นตรงกลางอกเหนือลิ้นปี่ แน่นหนักเหมือนมีอะไรกดทับหรือบีบ บางครั้งมีอาการแสบร้อน อาการดังกล่าวอาจลุกลามไปด้านหลัง, คอ, ไหล่ หรือคาง หรือต้นแขน โดยทั่วไปมักมีอาการอยู่นานประมาณ 5 นาที แต่อาจน้อยหรือนานกว่านี้ได้

ลักษณะเฉพาะอีกประการคือ ตัวกระตุ้นให้เกิดอาการหรือมักจะเกิดอาการตอนใช้กำลัง/ออกแรง หรือมีความเครียดมากๆ หรือบางครั้งมีอาการหลังรับประทานอาหารมื้อหนัก หรือตอนอากาศเย็นมากๆ (บางคนอาจพบตอนอากาศร้อนมากๆ) หรือ ช่วงสูบบุหรี่

อาการปวด แน่น เจ็บ หน้าอก จะทำให้รู้สึกหายใจลำบาก เหงื่อไหล บางคนมีอาการคลื่นไส้ร่วมด้วย และอาการจะรุนแรงหากการขาดเลือดของกล้ามเนื้อหัวใจมีมาก

อะไรเป็นปัจจัยเสี่ยงเกิดกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด?

ปัจจัยเสี่ยงให้เกิดกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดที่สำคัญคือ

เจ็บหน้าอกจากกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดมีวิธีวินิจฉัยอย่างไร?

แพทย์วินิจฉัยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดได้จาก

ดูแลตนเองอย่างไรเมื่อมีอาการกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด?

เมื่อมีอาการเจ็บหน้าอกและสงสัยจะเป็นอาการจากกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดควรปฏิบัติตน/ดูแลตนเองดังนี้

  • ควรนอนราบ แล้วให้ญาติติดต่อรถฉุกเฉินของโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด หรือโทร 1669/ใช้ได้ทั่วประเทศ (สถาบันแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ/สพฉ. กระทรวงสาธารณสุข, ฟรี ตลอด 24 ชั่วโมง)
  • หากมียาขยายหลอดเลือดหัวใจ รีบให้รับประทาน หรืออม หรือพ่นในช่องปาก แล้วแต่ว่ามียาชนิดใด

กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดมีวิธีการรักษาอย่างไร?

หากให้การวินิจฉัยตามขั้นตอนที่กล่าวในหัวข้อ การวินิจฉัย แล้วยืนยันว่าเป็นโรค/ภาวะดังกล่าวนี้จริง มีทางเลือกในการรักษาต่างๆดังนี้

อนึ่ง อ่านเพิ่มเติมในเว็บ haamor.com บทความเรื่อง โรคหัวใจ: การซ่อมรักษาหลอดเลือดหัวใจตีบ

ทั้งนี้ แพทย์ผู้รักษาจะให้ข้อมูลในเรื่อง ข้อดี ข้อเสีย ค่าใช้จ่ายของแต่ละวิธี กับผู้ป่วยและครอบครัว เพื่อเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละรายต่อไป

กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดมีการพยากรณ์โรคอย่างไร?

กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดมีการพยากรณ์โรคแตกต่างกันในแต่ละผู้ป่วย เพราะขึ้นกับหลาย ปัจจัยที่สำคัญคือ

  • ประสิทธิภาพการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจ
  • ความรุนแรงของการตีบของหลอดเลือดหัวใจ
  • ตำแหน่งของหลอดเลือดหัวใจที่เกิดการตีบ
  • มีโรคหัวใจอื่นๆร่วมด้วยหรือไม่
  • รักษาควบคุมโรคที่เป็นปัจจัยเสี่ยงได้ดีหรือไม่
  • หยุดบุหรี่ได้หรือไม่
  • อายุที่มากขึ้นและสุขภาพโดยรวมของผู้ป่วย
  • ได้รับการรักษาได้ทันท่วงทีตั้งแต่เริ่มมีอาการหรือไม่

อย่างไรก็ตาม หากผู้ป่วยมีการปฏิบัติตัวที่เหมาะสม ตลอดจนมีการรักษาที่ทันท่วงที จะช่วยให้ยืดอายุผู้ป่วยได้นับสิบปี

กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดมีวิธีดูแลตนเองและป้องกันอย่างไร?

การดูแลตนเองเมื่อมีกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด จะเช่นเดียวกับวิธีป้องกันการเกิดกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ซึ่งที่สำคัญได้แก่

การลดปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวในหัวข้อ ปัจจัยเสี่ยง ได้แก่

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากมีปัจจัยบางอย่างที่ไม่สามารถควบคุมได้ ได้แก่ ความแก่, กรรมพันธุ์ ดังนั้นโรค/ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด เราทุกคนก็ยังมีโอกาสประสบด้วยตนเองอยู่ดี แต่การป้องกันโดยลดปัจจัยเสี่ยงก็ยังเป็นสิ่งสำคัญที่สุด และหากมีอาการของโรค แต่มีการปฏิบัติตัวที่เหมาะสม ตลอดจนมีการรักษาที่ทันท่วงที จะช่วยให้ยืดอายุผู้ป่วยได้นับสิบปี

 

ข้อมูลไฟล์ที่เกี่ยวข้อง
ไม่มีข้อมูล!!