โรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (Acute myocardial infarction)
21 มีนาคม 2560ประเภท : ข่าวประชาสัมพันธ์
ข้อมูลรูปที่เกี่ยวข้อง
บทนำ
โรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย หรือโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (Acute myocardial infarction) หรือย่อว่า เอเอ็มไอ (AMI) หรือภาษาทั่วไปคือ Heart attack (อาการหัวใจล้ม) คือ โรคที่เซลล์กล้ามเนื้อของหัวใจตายจากการขาดเลือดมาเลี้ยง สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากหลอดเลือดที่มาเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจเกิดการอุดตันกะทันหันจากการเกิดก้อนลิ่มเลือด (Thrombus) อาการจะเกิดขึ้นฉับพลัน/เฉียบพลันโดยจะมีอาการเจ็บหน้าอกเป็นหลัก อัตราการเสียชีวิต (ตาย) ของโรคนี้ค่อนข้างสูง การวินิจฉัยโรคให้ได้อย่างรวดเร็วและรีบให้การรักษาอย่างเร่งด่วนที่สุดจะช่วยลดอัตราการเสียชีวิตลงได้อย่างมาก ผู้ที่เกิดโรคนี้แล้วหนึ่งครั้งมีโอกาสที่จะกลับเป็นซ้ำได้อีก
โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันพบมากในประเทศที่พัฒนาแล้วมากกว่าประเทศด้อยพัฒนาอย่างเช่นในประเทศสหรัฐอเมริกาพบผู้ป่วยมากถึง 1.5 ล้านคนต่อปี หรือพบผู้ป่วยทุกๆ 600 คนในประชากร 100,000 คน ในประเทศที่กำลังพัฒนาซึ่งรวมถึงประเทศไทยพบผู้ป่วยได้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไปในรูปแบบของประเทศที่พัฒนาแล้ว ทำให้ป่วยเป็นโรคหลอดเลือดแดงแข็งกันมากขึ้นและส่งผลให้เกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายตามมา
อายุที่มากขึ้นก็จะมีโอกาสพบเป็นโรคนี้ได้มากขึ้น ในช่วงอายุที่น้อยกว่า 70 ปีผู้ชายพบได้มากกว่าผู้หญิง แต่ช่วงอายุที่มากกว่า 70 ปีขึ้นไปผู้ชายและผู้หญิงพบได้เท่ากันๆเนื่องจากผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนแล้วจะไม่มีฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen, ฮอร์โมนเพศหญิง) มาช่วยป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดแดงแข็ง
สำหรับในเด็กก็อาจพบได้จากสาเหตุที่ไม่ใช่โรคหลอดเลือดแดงแข็ง ซึ่งที่พบบ่อยในเด็กคือ โรคหลอดเลือดแดงที่มาเลี้ยงหัวใจผิดปกติแต่กำเนิด
อะไรเป็นสาเหตุ/ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน?
การที่กล้ามเนื้อหัวใจตายเกิดจากการขาดเลือดมาเลี้ยงซึ่งสาเหตุที่ทำให้เลือดไม่มาเลี้ยง ได้แก่
1. การที่ผู้ป่วยเป็นโรคหลอดเลือดแดงแข็ง ที่เรียกว่า Atherosclerosis อยู่ก่อน ซึ่งเป็นสาเหตุมากกว่า 90% ของผู้ป่วยทั้งหมด
โดยหลอดเลือดแดงแข็งเกิดจากมีไขมันและเซลล์ที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบต่างๆมาเกาะตัว เป็นกลุ่มอยู่ที่ผนังของหลอดเลือดและมีพังผืดห่อหุ้มเอาไว้เรียกกลุ่มที่เกาะตัวนี้ว่า พลาค (Plaque) จึงทำให้ทางไหลของเลือดแคบลง หากพังผืดเกิดแตกออก (Plaque rupture) สารเคมีที่อยู่ใน Plaque ก็จะถูกปล่อยออกมาและกระตุ้นให้เกล็ดเลือดที่อยู่ในกระแสเลือดมาเกาะกลุ่มกันที่ผนังหลอดเลือดส่วนนี้ ตามมาด้วยการกระตุ้นระบบการแข็งตัวของเลือดทำให้ได้โปรตีนชื่อ ไฟบริน (Fibrin) มาเกาะรวมกับกลุ่มของเกล็ดเลือดและกลายเป็นกลุ่มก้อนลิ่มเลือดขนาดใหญ่เรียกว่า “ก้อน ลิ่มเลือด (Thrombus)”
ก้อน Thrombus ที่เกิดขึ้นนี้อาจมีขนาดใหญ่มากจนกระทั่งอุดตันหลอดเลือดแดงจึงทำให้เลือดไหลผ่านไปไม่ได้ เซลล์กล้ามเนื้อที่อยู่ปลายทางของหลอดเลือดเส้นนั้นจึงเกิดการขาดเลือด มาเลี้ยงและตายในที่สุด ซึ่งการเกิดเหตุการณ์นับตั้งแต่กลุ่ม Plaque แตกออกจนเกิดก้อน Thrombus นั้นเป็นไปอย่างต่อเนื่องและรวดเร็วจึงทำให้ผู้ป่วยมีอาการเกิดขึ้นเฉียบพลัน
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดแดงแข็งได้แก่
- เป็นโรคความดันโลหิตสูง
- เป็นโรคเบาหวาน
- เป็นโรคไขมันในเลือดสูง
- เป็นโรคอ้วน
- มีระดับสารโฮโมซีสเตอีนสูงในเลือด (Homocysteine, กรดอะมิโนชนิดหนึ่งที่ไม่ใช่ โปรตีน/Non-Protein amino acid มักพบในเลือดผู้ป่วยที่มีหลอดเลือดหัวใจตีบ)
- มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ
- ผู้ชายที่มีอายุ 45 ปีขึ้นไป ผู้หญิงที่มีอายุ 55 ปีขึ้นไป
- พฤติกรรมที่ไม่ชอบออกกำลังกาย
- เครียดง่าย
- สูบบุหรี่
2. เป็นโรคหลอดเลือดอื่นๆอยู่ เช่น โรคหลอดเลือดอักเสบ (Vasculitis) โรคหลอดเลือดแดงที่มาเลี้ยงหัวใจผิดปกติแต่กำเนิด เป็นต้น
3. การเกิดภาวะต่างๆที่ทำให้หลอดเลือดแดงที่มาเลี้ยงหัวใจเกิดการอุดตัน เช่น การเกิดมีก้อนลิ่มเลือด (Thrombus) ในหลอดเลือดแดงที่ตำแหน่งอื่นๆของร่างกายแล้วหลุดออกกลาย เป็นลิ่มเลือดก้อนเล็กๆ (Emboli) ไหลเข้ามาอุดตันหลอดเลือดแดงที่มาเลี้ยงหัวใจ หรือการมีก๊าซปริมาณมากเข้ามาอยู่ในหลอดเลือดแดง ก๊าซจึงไม่สามารถละลายอยู่ในเลือดได้และเกิดเป็นฟองอากาศที่อาจไปขัดขวางการไหลของเลือดในหลอดเลือดแดงของหัวใจได้ เป็นต้น
4. เกิดภาวะที่กล้ามเนื้อหัวใจต้องการปริมาณเลือดมาเลี้ยงมากกว่าปกติ เลือดแดงที่ไหลมาเลี้ยงจึงไม่เพียงพอต่อความต้องการของเซลล์หัวใจเช่น เป็นโรคต่อมไทรอยด์เป็นพิษรุนแรง หรือเลือดที่มาเลี้ยงมีปริมาณออกซิเจนต่ำเช่น เป็นโรคปอดรุนแรง หรือเป็นโรคโลหิตจาง/ภาวะซีดรุนแรงซึ่งทำให้มีปริมาณเม็ดเลือดแดงน้อยที่จะนำออกซิเจนมาให้กับเซลล์กล้ามเนื้อ หรือเกิดการเสียเลือดออกจากร่างกายปริมาณมากเช่น เมื่อเกิดอุบัติเหตุรุนแรง
5. การใช้ยาหรือสารเสพติดบางชนิด เช่น โคเคน (Cocaine), แอมเฟตามีน (Amphetamine), อีฟีดรีน (Ephedrine) ซึ่งอาจทำให้หลอดเลือดมีการหดตัวอย่างรุนแรง
กายวิภาคหลอดเลือดแดงของหัวใจ
จากท่อเลือดแดงใหญ่ (Aorta) ที่ออกจากหัวใจ หลอดเลือด 2 เส้นแรกที่แตกแขนงออกมา คือ หลอดเลือดที่มาเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจซึ่งมีชื่อว่า หลอดเลือดโคโรนารี ขวา (Right coronary artery) และหลอดเลือดโคโรนารี ซ้าย (Left coronary artery)
หลอดเลือดหัวใจซ้าย (Left coronary artery) จะแตกแขนงต่อทันทีออกเป็นหลอดเลือดที่มีขนาดเล็กกว่าเรียกว่า หลอดเลือด Left anterior descending artery และหลอดเลือด left circum flex artery
ดังนั้นหลอดเลือดหลักที่เลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจจึงมี 3 เส้นโดย
- Right coronary artery จะเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจห้องขวา ส่วนล่างของกล้ามเนื้อหัวใจห้องซ้าย รวมถึงส่วนหลังของผนังกั้นห้องหัวใจ ส่วน
- Left anterior descending artery จะเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจห้องซ้ายด้านหน้า และส่วนหน้า ของผนังกั้นห้องหัวใจ และ
- Left circumflex artery จะเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจด้านหลัง
การอุดตันของหลอดเลือดแต่ละเส้นจึงทำให้เกิดกล้ามเนื้อตายที่ตำแหน่งแตกต่างกันไปรวม ไปถึงลักษณะอาการ การพยากรณ์โรค/ความรุนแรงของโรค และภาวะแทรกซ้อนที่แตกต่างกัน
โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันมีอาการอย่างไร?
เนื่องจากผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นโรคหลอดเลือดแข็งอยู่ก่อนและโรคนี้ทำให้ผู้ป่วยเป็นโรคหัวใจขาดเลือด (Ischemic heart disease) หรือโรคหลอดเลือดหัวใจ ผู้ป่วยจึงอาจมีอาการของโรคหัวใจขาดเลือดนำมาก่อน แต่ในบางรายอาจไม่มีก็ได้โดยจะแสดงอาการของโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเป็นครั้งแรก
ทั้งนี้ประมาณครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยจะมีประวัติของสิ่ง