โรคหัวใจ: โรคหลอดเลือดหัวใจ (Coronary artery disease)
28 มีนาคม 2560ประเภท : ข่าวประชาสัมพันธ์
ข้อมูลรูปที่เกี่ยวข้อง
ระบบและอวัยวะที่เกี่ยวข้อง :
หัวใจ หลอดเลือด ระบบหัวใจและหลอดเลือด
อาการที่เกี่ยวข้อง :
เจ็บหน้าอก เป็นลม เจ็บหน้าอกซ้ายมาก โรคหัวใจ (Heart disease) หรือโรคที่เกิดกับหัวใจ ซึ่งมีได้หลายโรค แต่ที่พบบ่อยที่สุดเป็นปัญหาทางสาธารณสุขและเป็นสาเหตุการเสียชีวิตได้สูงติด 1 ใน 4 ของสาเหตุการเสียชีวิตของประชาชนเกือบทั่วโลกรวมทั้งในประเทศไทยคือ โรคหัวใจที่เกิดจากโรคของหลอดเลือดหัวใจหรือที่เรียกว่า โรคหลอดเลือดหัวใจ (Coronary artery disease หรือ Coronary heart disease) ซึ่งโดยทั่วไปเมื่อกล่าวถึงโรคหัวใจมักหมายถึงโรคนี้ ดังนั้นบทความนี้จึงกล่าวถึงโรคหัวใจเฉพาะเกิดจากสาเหตุนี้เท่านั้น
โรคหลอดเลือดหัวใจคือ โรคเกิดจากหลอดเลือดหล่อเลี้ยงหัวใจซึ่งมีชื่อเรียกว่า Coronary artery ตีบแคบเล็กลงหรือตีบตัน จึงส่งผลให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดหรือกล้ามเนื้อหัวใจตาย หัวใจจึงทำงานผิดปกติส่งผลถึงอวัยวะต่างๆขาดเลือดไปด้วย จึงเกิดมีอาการต่างๆได้มากมาย
โรคหลอดเลือดหัวใจเป็นโรคของผู้ใหญ่ตั้งแต่วัยหนุ่มสาวไปจนถึงในผู้สูงอายุ โดยพบได้สูงตั้งแต่อายุ 40 ปีขึ้นไปในช่วงวัยเจริญพันธุ์ พบโรคหลอดเลือดหัวใจในผู้ชายได้สูงกว่าในผู้หญิง แต่หลังจากวัยหมดประจำเดือนถาวรแล้ว ทั้งผู้หญิงและผู้ชายมีโอกาสเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจได้ใกล้เคียงกัน
โรคหลอดเลือดหัวใจเกิดได้อย่างไร?
สาเหตุของโรคหลอดเลือดหัวใจคือ การมีไขมันจับที่ผนังของหลอดเลือดหัวใจที่เรียกว่า พลาค (Plaque) จึงส่งผลให้ผนังหลอดเลือดแข็งหนา (ท่อเลือดแดงแข็ง) ช่องในหลอดเลือดจึงตีบแคบลง และเมื่อพลาคนี้ก่อให้เกิดการอักเสบของผนังหลอดเลือด หรือผนังหลอดเลือดบาดเจ็บเสียหาย ร่างกายจะซ่อมแซมผนังส่วนเสียหายโดยการจับตัวเป็นก้อนของเกร็ดเลือดและเม็ดเลือดขาว จึงยิ่งส่งผลให้ช่องในหลอดเลือดตีบแคบลงอีก เลือดจึงหล่อเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจลดลงจึงเกิดเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด และบ่อยครั้งการซ่อมแซมจากร่างกายนี้ก่อให้หลอดเลือดถึงอุดตันจึงส่งผลให้เกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือด ซึ่งอาจเกิดได้อย่างเฉียบพลัน และเมื่อรุนแรงจะเป็นสาเหตุให้หัวใจหยุดทำงานทันที จึงเสียชีวิตได้ทันทีกะทันหัน
นอกจากนั้น หลอดเลือดหัวใจยังสามารถบีบหดตัวได้ ดังนั้นเมื่อมีการหดตัวของหลอดเลือด จึงส่งผลให้รูท่อหลอดเลือดตีบแคบลง จึงเกิดภาวะหัวใจขาดเลือดได้เช่น จากภาวะมีความเครียดสูง เป็นต้น
โรคหลอดเลือดหัวใจมีปัจจัยเสี่ยงไหม?
ปัจจัยเสี่ยงหรือกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจได้แก่
- มีไขมันในเลือดสูง
- โรคเบาหวาน เพราะเป็นปัจจัยเสี่ยงให้หลอดเลือดอักเสบ
- โรคความดันโลหิตสูงจากผนังหลอดเลือดแข็งตัว (หลอดเลือดแดงแข็ง) และมักเกิดร่วมกับโรคเรื้อรังอื่นๆเช่น เบาหวานและไขมันในเลือดสูง
- สูบบุหรี่ เพราะสารพิษในควันบุหรี่ทำลายเซลล์ของหลอดเลือดโดยตรง ก่อให้หลอดเลือดแข็งและยังทำลายเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจโดยตรงด้วย
- อ้วน เพราะเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และไขมันในเลือดสูง
- ขาดการออกกำลังกาย เพราะเป็นสาเหตุให้เกิดโรคอ้วน
- กินอาหารไม่มีประโยชน์และกินอาหารไขมันสูง จึงมีผลต่อสุขภาพของเซลล์ต่างๆทั่วร่างกายรวมทั้งของหลอดเลือดหัวใจ
- ความเครียด เพราะส่งผลให้หลอดเลือดต่างๆโดยเฉพาะหลอดเลือดหัวใจและหลอดเลือดสมองบีบหดตัว ช่องในหลอดเลือดจึงตีบแคบ กล้ามเนื้อหัวใจและเซลล์สมองจึงขาดเลือดได้
- พันธุกรรม เพราะพบโรคได้สูงกว่าในคนมีประวัติครอบครัวเป็นโรคนี้
โรคหลอดเลือดหัวใจมีอาการอย่างไร?
อาการพบบ่อยของโรคหลอดเลือดหัวใจได้แก่
- ไม่มีอาการเมื่อเริ่มเป็นโรคหรือเมื่อหลอดเลือดยังตีบไม่มาก
- เหนื่อยง่ายเมื่อออกแรงหรือออกกำลัง
- เจ็บแน่นหน้าอกเมื่อใช้กำลังเพิ่มขึ้นหรือเมื่อมีความเครียด (ผู้หญิงมักไม่ค่อยพบมีอาการนี้) อาการอาจร้าวไปที่ขากรรไกร ไหล่ และ/หรือ แขนด้านใดก็ได้ แต่มักเป็นด้านซ้าย
- อาการของโรคหัวใจล้มเหลว (หัวใจวาย) เช่น เหนื่อยง่าย หัวใจเต้นเร็ว บวมหน้าแขน/ขา
- ความดันโลหิตสูง
- ไขมันในเลือดสูง
แพทย์วินิจฉัยโรคหลอดเลือดหัวใจได้อย่างไร?
แพทย์วินิจฉัยโรคหลอดเลือดหัวใจได้จาก ประวัติอาการ ประวัติการเจ็บป่วยในครอบครัว การตรวจร่างกาย ตรวจวัดความดันโลหิต ตรวจไขมันในเลือด ตรวจภาพหัวใจและปอดด้วยเอกซเรย์ ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจอาจทั้งในภาวะปกติและในภาวะออกกำลังกาย อาจตรวจภาพหัวใจด้วย คลื่นความถี่สูง (อัลตราซาวด์) อาจตรวจภาพหลอดเลือดหัวใจด้วยการใส่สายสวน และอาจมีการตรวจอื่นๆเพิ่มเติม ทั้งนี้ขึ้นกับดุลพินิจของแพทย์
รักษาโรคหลอดเลือดหัวใจได้อย่างไร?
แนวทางการรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจคือ ปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต (เรื่องกิน การออกกำลังกาย และสุขภาพจิต) ดูแลรักษาควบคุมโรคที่เป็นปัจจัยเสี่ยง กินยาขยายหลอดเลือดหัวใจ กินยาต้านการแข็งตัวของเลือด กินยาลดไขมันในเลือด อาจขยายหลอดเลือดด้วยเทคนิคต่างๆ และอาจเป็นการผ่าตัดหลอดเลือดหัวใจ (โรคหัวใจ: การซ่อมรักษาหลอดเลือดหัวใจตีบ) ทั้งนี้ ขึ้นกับความรุนแรงของโรคและดุลพินิจของแพทย์
โรคหลอดเลือดหัวใจรุนแรงไหม? รักษาหายไหม?
โรคหลอดเลือดหัวใจจัดเป็นโรคเรื้อรังและรุนแรง เป็นสาเหตุให้เกิดทั้งความพิการและเสียชีวิตได้
- ความพิการเช่น เป็นสาเหตุให้สมองขาดเลือด จากหัวใจทำงานลดลง จึงเกิดภาวะอัมพฤกษ์/อัมพาตได้ง่าย
-
และคุณภาพชีวิตลดลงเช่น ต้องจำกัดการออกแรงจาก
ข้อมูลไฟล์ที่เกี่ยวข้อง
ไม่มีข้อมูล!!